รักษาโรคทางกายภาพบำบัด

Young woman receiving a back massage in a spa center. Female patient is receiving treatment by professional therapist.

* หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated nucleus pulposus : HNP)

 

เกิดจากการฉีกขาดของเยื่อหุ้มชั้นนอกของหมอนรองกระดูก ( Annulus fibrosus ) ทำให้ ของเหลวลักษณะคล้ายวุ้น (Nucleus pulposus) ที่อยู่ตรงกลาง  เคลื่อนออกมากดเบียดเส้นประสาท (Nerve root) ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือ ด้านข้างของหมอนรองกระดูก (Posterolateral disc herniation)

 

มักพบในผู้ป่วย อายุระหว่าง 21-50ปี (อายุน้อยกว่า 20 ปี  เยื่อหุ้มชั้นนอกของหมอนรองกระดูก ( Annulus fibrosus ) ยังแข็งแรงความยืดหยุ่นสูง ส่วนผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี องเหลวลักษณะคล้ายวุ้น (Nucleus pulposus) ที่อยู่ตรงกลางหมอนรองกระดูก  จะมีน้ำน้อยลงและมีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้เกิดการฉีกขาดของเยื่อหุ้มได้ง่าย หมอนรองกระดูกจึงเคลื่อนออกมากดเส้นประสาท มักพบในระดับ L4-5และ L5-S1 )

 

อาการ

 

– ปวดเอว

– ปวดหลังส่วนล่างและปวดสะโพก หรือ กระเบ็นเหน็บ

– มักปวดร้าวไปตามต้นขาด้านหลัง

– ปวดขาทั้ง 2 ข้าง มาก ๆ มักเคลื่อนออกมาชิ้นใหญ่และไปกดทับเส้นประสาท ปวดร้าวถึงขา หรือถึงปลายเท้า

– กล้ามเนื้ออ่อนแรง

– ชาตาม Dermatome (Nerve root) ถูกกด (ชาหนักตามระยางค์แขน ขา)

กรณีบางรายหมอนรองกระดูกเคลื่อนมีขนาดใหญ่ทำให้มี อาการปวดหลังร้าวลงขาทั้งสองข้าง ขาชาและอ่อนแรงทั้งสองข้าง ปัสสาวะไม่ออกท้องผูก  หรือกลั้นปัสวะ อุจจาระไม่ได้

 

ปัจจัยเสี่ยง

 

-การใช้งานที่มากเกินไป เกินกำลังของตนเอง เช่น ยกของหนัก

-การทำงานผิดท่า เช่น การก้ม ๆ เงย ๆ  หรือ ก้มยกของโดยไม่ระมัดระวัง ( ท่าก้มเป็นท่าทางที่เสียเปรียบเชิงกลค่อนข้างมาก ทำให้เวลายกของหนัก หมอนรองกระดูกจะรับน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักหลายเท่าตัว จึงเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย )

-การสูบบุหรี่  เพราะการสูบบุหรี่ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกได้ไม่ดี จึงทำให้หมอนรองกระดูกเสียความยืดหยุ่น  

-ความอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง ทำให้หลังแอ่น เมื่อหลังแอ่นมาก ๆ  หมอนรองกระดูกจะได้รับแรงกระทำมากขึ้น จึงทำให้มีโอกาสเสื่อมหรือแตกได้ง่าย

-กลุ่มที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย คือกลุ่มที่ทำงานนั่งโต๊ะนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ กระดูกสันหลังเสียสมดุลไป ซึ่งกล้ามเนื้อจะต้องสมดุลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายจะมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ  มีโอกาสบาดเจ็บต่อหมอนรองกระดูกสันหลังได้ง่ายขึ้น

-ความเสื่อมตามวัย อายุที่เพิ่มมากขึ้นมีโอกาสที่หมอนรองกระดูกสันหลังจะเสื่อมมากขึ้น

 

* โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม (Lumbar spondylosis)

 

พบบ่อยในวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมสภาพของข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวซึ่งเป็นข้อต่อที่รับน้ำหนักของร่างกาย (Weight-bearing joint) โรคนี้เป็นโรคของกระดูกสันหลัง ได้แก่ หมอนรองกระดูกสันหลังแคบลง ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมอักเสบ เยื่อหุ้มข้อต่อกระดูกสันหลังหลวม การเลื่อนตัวของข้อต่อกระดูกสันหลัง  เกิดกระดูกงอก และการหนาตัวของเอ็นกระดูก (ligamentum flavum). ในระยะแรกอาจเกิดขึ้นกับข้อสันหลังระดับเดียวกันก่อน ต่อมาจะลามไปยังระดับใกล้เคียง ทำให้เกิดโรคข้อสันหลังเสื่อมและช่องสันหลังตีบแคบหลาย ๆ ระดับขึ้นได้ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากแรงเครียด (Strain) ที่เพิ่มมากขึ้นต่อข้อต่อสันหลังระดับใกล้เคียง เป็นสาเหตุให้เกิดการเสื่อมของข้อถัดไป

 

อาการ

 

– ส่วนใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป มาด้วยอาการปวดหลัง

-อาการปวดบอกตำแหน่งไม่ชัดเจน มัก ปวดบริเวณ สะโพก บั้นท้าย

-อาการปวดร้าวไปที่ต้นขา หรือ ขา

-อาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว (Movement)

-อาการดีขึ้นเมื่อพัก(Rest)

อาการที่มักพบร่วมกับปวดหลัง

-การจำกัดมุมเคลื่อนไหว

-กล้ามเนื้อกระดูกสันหลังสะโพก อ่อนแรงและเกิดการล้า(Fatigue) ในขณะทำกิจกรรม

-อาการปวดที่ไม่สัมพันธ์กับท่าทาง อิรอยาบถ ไม่ดีขึ้นขณะพัก ปวดตอนกลางคืน และมีอาการ Systemic symptoms (เช่น ไข้ น้ำหนักลด เหงื่อออก เป็นต้น ) ต้องนึกถึง Tumor , Infection และ Systemic diseases อื่น ๆ มากขึ้น

 

ปัจจัยเสี่ยง

-อายุ พบมากในผู้สูงอายุ 40 ปี ขึ้นไป และยังพบว่ามักมีกล้ามเนื้อหลังอ่อนแอมากขึ้นร่วมกับการเสื่อมของกระดูกสันหลัง

-การใช้ท่าทางและอิริยาบถไม่ถูกต้อง (Poor posture)  การหมุนหรือบิดของลำตัว หลัง และเอว เป็นท่าทางที่ไม่ปกติ การอยู่ในท่าก้มเงย หรือหมุนตัวมากเกินไป รวมทั้งท่านั่งทำงาน เช่น นั่งหลังค่อม เอียงตัว นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ บิดเบี้ยว ทำให้กล้ามเนื้อหลังอยู่ในภาวะไม่สมดุล พบได้กับคนทุกวัย งานที่ต้องก้มเงยบ่อย ทำให้โครงสร้างกระดูกรับน้ำหนักที่มากเกินไป

 

– อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับหลัง เช่น ตกจากที่สูง หกล้มก้นกระแทก รถชน ของหล่นทับ เป็นต้น ทำให้กระดูกสันหลังขาดความมั่นคง เนื้อเยื้อเคลื่อนมากดทับเส้นประสาท หรือ ไขสันหลัง ทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาและร่วมกับการเสื่อมของกระดูกสันหลังจากแรงกระทำ มักพบในผู้สูงอายุที่ลื่นหกล้ม

-ความเครียดทางจิตใจ (Psychological distress) เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหลังเอวมักปวดมากกว่าพยาธิสภาพของโรค จากการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตที่สำคัญ

-การติดเชื้อ (Infection)  เช่น กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis) ที่บริเวณกระดูกสันหลัง หรือวัณโรคกระดูกสันหลัง (TB spine) ทำให้มีการเสื่อมจากการบางของกระดูกสันหลังตามมาได้

-การอักเสบที่ปราศจากเชื้อ (Inflammation) เช่น  อาการอักเสบจากความเสื่อมของกระดูกในพวกออสตีโออาร์ไทรตีส

-ภาวะกระดูกจาง (Osteoporosis) แคลเซียมในกระดูกน้อย ทำให้เนื้อกระดูกไม่แข็งแรง มักพบในบุคคลที่มีอายุเยอะและขาดการออกกำลังกาย หญิงในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งภาวะกระดูกจางจะทำให้ปวดหลังเรื้อรัง

-หมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated disc) ส่วนใหญ่สาเหตุตัวหมอนรองกระดูกสันหลังเองมีการเสื่อม

-กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอ  เกิดจากกล้ามเนื้อหลังถูกใช้งานมากเกินไป หรือกระดูกสันหลังแอ่นมาก (Hyperexten) สาเหตุมักมาจากการทรงตัวที่ไม่ดี ซึ่งการอ่อนแอของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบ ๆ กระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการยืด (Strain) ของกล้ามเนื้อและเอ็นยึดกระดูก มีการเคลื่อนที่ได้มากกว่าปกติจึงทำให้ความสามารถในการทนต่อแรงจากภายนอกและแรงที่ซ้ำ ๆ กันของกระดูกสันหลังลดลด ซึ่งเป็นของการเสื่อมของกระดูกสันหลังตามมา

-การสูบบุหรี่ เป็นผลของนิโคตินก่อพยาธิสภาพต่อหมอนรองกระดูกสันหลังโดยตรง ทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลง ขัดขวางกระบวนการซ่อมแซ่มหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เสื่อมก่อนเวลาอันควร

 

* โรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ (Lumbar stenosis)

 

อาการ

 

-ปวดหลังเรื้อรัง มักปวดอยู่ตรงกลางหลังของเอว หรือ บั้นท้าย สะโพกร้าวลงขา ปวดหนักบริเวณน่อง

-อาการแสดงมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรมใน ท่ายืน เดิน  หรือเมื่อแอ่นหลังมาก ๆ

-อาการที่ มัก แสดงหลัก ๆ 3 แบบ อาการชา ปวด หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ปวดหน่วง ๆ ขาหนัก รู้สึกเหมือนมีมดไต่ขา โดยเฉพาะเมื่อมีการเดินหรือยืนนาน ๆ

-อาการบรรเทาด้วยการ ก้มโค้งหลังไปทางด้านหน้า(intermittent neurogenic claudication) หรือ มีการนั่งพัก

-อาการรุนแรงมากที่สุดไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะ

 

ปัจจัยเสี่ยง

-มักพบในบุคคลที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป จากการเสื่อมของกระดูกสันหลังตามอายุทำให้เกิดการตีบแคบของโพรงกระดูกสันหลังตามมา

-ความผิดปกติแต่กำเนิดของโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

-มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

-น้ำหนักเกินมาตรฐาน

-ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

-อุบัติเหตุบริเวณหลัง

-โรค อื่น ๆ ของระบบกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน

 

* โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน (Lumbar spondylolisthesis)

สาเหตุ

เกิดจากการเลื่อนของกระดูกสันหลังป้องหนึ่งบนกระดูกสันหลังอีกป้องหนึ่ง(forward slipping of the one vertebra on the other vertebra) ทำให้โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบลง เกิดการกดเบียดรากประสาท สาเหตุการเลื่อนกระดูกสันหลังมีหลายสาเหตุ แต่ที่มักพบบ่อยในผู้ป่วยวัยกลางคนหรือสูงอายุ คือ การเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง (Degeneration spondylolisthesis) และการแตกร้าวของส่วนที่เรียกว่า Pars interarticular (isthmic spondylolisthesis) จากอุบัติเหตุ ซึ่งเมื่อกระดูกสันหลังเกิดการเคลื่อน หรือ เลื่อนจึงก่อให้เกิดความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังตามมา

 

อาการ

-ปวดหลังบริเวณเอว หรือ สะโพก ชาร้าวไปตามขา

-ปวดมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ

-มีปัญหาจิตใจ เนื่องจากเดินไม่ปกติ

โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน (Lumbar spondylolisthesis) อาการแสดง

-ปวดหลังบริเวณเอว

-ปวดบริเวณสะโพกร้าวลงน่องและเท้าตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ

-ปวดร้าวตามแนวเส้นประสาทร่วมกับปวดร้าวลงขา

-ขาชาร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ มีการตึงตัวของกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหลัง

-กดเจ็บบริเวณด้านหลังที่กระดูกสันหลังเคลื่อน

-ปวดมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ยืน เดิน หรือ การก้มเงยและแอ่นหลังจะปวดมากขึ้น

-นั่งพักอาการจะดีขึ้น

 

ปัจจัยเสี่ยง

-มักพบในเพศ ชาย:หญิง เท่ากับ 2:1

-การทำกิจกรรม ทำให้เกิดการเลื่อนของกระดูกสันหลังและค่อย ๆ  หัก เช่น การเล่นกีฬา เป็นต้น

-มีการเลื่อนของกระดูกสันหลังจาก รอยร้าวหรือแตกหัก ของกระดูกสันหลังจาก อุบัติเหตุ ที่รุนแรง

-ภาวะที่เกิดจากการเคลื่อนของกระดูกสันหลังจากการเสื่อม

-เกิดจากพยาธิสภาพจากการลามของมะเร็ง การติดเชื้อ หรือภาวะกระดูกพรุน อาจจะเป็นกระดูกทั้งหมด หรือเฉพาะ interarticularis ที่สูญเสียความแข็งแรง ทำให้เกิดการเลื่อนของกระดูก

ด้วยความห่วงใยจาก ซาลดรา อาร์ทัว คลินิก ฯ
เราอยากให้คุณมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
สอบถามเพิ่มเติม และทํา นัดรักษา
02-2874459
line : @saldraartuaclinic

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดคอ ( Neck Pain )

นั่งทำงานนาน ๆ อ่านหนังสือนาน ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ปวดเมื่อยคอจังเลย ทำอย่างไรดี หาคำตอบจากได้บทความนี้ค่ะ

อ่านต่อ »

ปวดไหล่ ( shoulder pain )

อาการปวดไหล่ ที่พบบ่อยเกิดจากหลายสาเหตุ อาจเกิดจาก – พยาธิสภาพที่ข้อไหล่เอง – พยาธิสภาพ

อ่านต่อ »