โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of Knee)

arthrocalman-2384254_1280

โรคข้อที่พบบ่อยที่สุด เกิดเนื่องจากมีการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) อย่างต่อเนื่อง แบ่งโรคออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. โรคข้อเสื่อมปฐมภูมิ (primary osteoarthritis) พบประมาณ 95% ของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมทั้งหมด ไม่พบว่ามีสาเหตุนำมาก่อน โรคจะเกิดขึ้นตามอายุขัย และรุนแรงขึ้นตามอายุ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อใดข้อหนึ่งในร่างกาย
  2. โรคข้อเสื่อมทุติยภูมิ (secondary osteoarthritis) พบประมาณ 5% ของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมทั้งหมด ผู้ป่วยมักมีอายุน้อย

สภาวะซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรค อันได้แก่

– มีประวัติบาดเจ็บของข้อ

– Systemic diseases เช่น โรคเบาหวาน (diabetes)

– อ้วนมาก ๆ (obesity)

ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงแต่ละกลุ่มจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ตำแหน่งต่าง ๆกัน เช่น นักกีฬาเบสบอล มักเกิด OA

ที่ข้อไหล่ และ ข้อศอก นักกีฬาบาสเกตบอลมักเกิด OA ที่ข้อเข่า เพศหญิงมักเกิด OA ที่ข้อเข่า และ ข้อนิ้วมือ และเพศ

ชายมักเกิด OA ที่ข้อสะโพก

 

กลไกการเกิดโรค

พบว่าโรคข้อเสื่อมส่วนใหญ่สัมพันธ์กับผู้ป่วยสูงอายุทั้ง 2 เพศ โดยจะพบมากขึ้นหลังอายุ 50 ปี  และ 80-90% ของคนอายุ 65 ปี จะเป็นโรคข้อเสื่อม จึงถือว่าโรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการผุพังของ กระดูกอ่อน (articular cartilage) ในปัจจุบันยังไม่ทราบวิธีป้องกันและยับยั้งโรคข้อเสื่อมชนิดปฐมภูมิ โดยส่วนใหญ่โรคจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และทำให้ผู้ป่วยมีความยากลำบากในการดำรงชีวิต

 

เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน คือ

  1. การเปลี่ยนแปลงตามวัยของกระดูกอ่อน (age-related changes in cartilage) อันได้แก่การเสื่อมคลอลาเจน
  2. การที่ กระดูกอ่อน ต้องรับแรงที่มากระทำเป็นเวลานานหลายสิบปี
  3. ปัจจัยทางกรรมพันธุ์โดยเซลล์ต้นเหตุของโรคนี้ ได้แก่ เซลล์กระดูกอ่อน (chondrocytes) ซึ่งไม่สามารถรักษาสมดุของกระดูกอ่อน

 

พบการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบในกระดูกอ่อน ดังนี้

– มีน้ำเพิ่มขึ้น

– มีความแข็งแรงของร่างแห คลอลาเจน ลดลง

– การสร้าง คลอลาเจน ลดลง

– การสลายคอลลาเจน เพิ่มขึ้น

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะทำให้ ความแข็งแรง และ ความยืดหยุ่นของกระดูกอ่อนลดลง

 

อาการอาการแสดง

จะเกิดขึ้นช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป และมีอาการ คือ

– ปวดตื้อ ๆ บริเวณข้อ เมื่อมีการเคลื่อไหวข้อเข่า เช่นการเดิน  จะทำให้อาการแย่ลง

– ข้อติดตอนเช้า (morning stiffness)

– เกิดเสียงดังภายในข้อขณะเคลื่อนไหว (crepitation)

ด้วยความห่วงใยจาก ซาลดรา อาร์ทัว คลินิก ฯ
เราอยากให้คุณมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
สอบถามเพิ่มเติม และทํา นัดรักษา
02-2874459
line : @saldraartuaclinic

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดคอ ( Neck Pain )

นั่งทำงานนาน ๆ อ่านหนังสือนาน ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ปวดเมื่อยคอจังเลย ทำอย่างไรดี หาคำตอบจากได้บทความนี้ค่ะ

อ่านต่อ »

ปวดไหล่ ( shoulder pain )

อาการปวดไหล่ ที่พบบ่อยเกิดจากหลายสาเหตุ อาจเกิดจาก – พยาธิสภาพที่ข้อไหล่เอง – พยาธิสภาพ

อ่านต่อ »