โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือรองช้ำ (Plantar Fasciitis)

imani-clovis-23005-unsplash

รองช้ำ (plantar fascia) คือเอ็นที่ขึงอยู่ที่ฝ่าเท้าจากกระดูกส้นเท้าแผ่ไปยังนิ้วเท้าทั้งห้านิ้ว ซึ่งทำหน้าที่ให้อุ้งเท้าขณะเดินลงน้ำหนักลักษณะการบาดเจ็บนี้มักจะเป็นการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สะสมมานาน มักพบในผู้ที่มีเอ็นร้อยหวายตึง หรือมีปัญหาบริเวณอุ้งเท้า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้า ซึ่งเป็นบริเวณจุดเกาะของเอ็นรองช้ำกับกระดูกส้นเท้า โดยอาการปวดมักจะเกิดขึ้นในก้าวแรก ๆ ของการเดิน หลังตื่นนอนตอนเช้าหรือหลังจากนั่งนาน ๆ อาการปวดจะหายไปเมื่อเดินไปสักระยะหนึ่ง โดยอาจจะมีการปวดอีกครั้งหลังจากเดินต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ รองช้ำอักเสบมักเกิดในวัยกลางคนและพบในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 – 70 ปี โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และผู้ที่มีน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็วหรือภาวะอ้วน ซึ่งเอ็นรองช้ำจะเริ่มมีการเสื่อมสภาพ ร่วมกับ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น หนักตัวมาก เบาหวาน หรือลักษณะงานที่ต้องยืนหรือเดินนาน ๆ รวมไปถึงรูปทรงเท้าที่ผิดปกติ เช่น เท้าแบน (pes planus) และอุ้งเท้าสูง (pes cavus) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการกระจายแรงกดที่กระทำต่อเอ็นรองช้ำเกิดการบาดเจ็บและการเสื่อมสภาพของเอ็นรองช้ำมากขึ้น

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค

-มีประวัติลักษณะงานมีการเดิน หรือ activity ของเท้ามากอย่างต่อเนื่อง (overuse)

-ท่าทางการเดินผิดปกติ เช่น ลักษณะการเดินคล้ายเป็ด

-ผู้ป่วยที่มีความผิดรูปของเท้า

-น้ำหนักตัวที่มากเกินไป

-เบาหวาน

-การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ

การรักษา

– หากเกิดการอักเสบแบบฉับพลัน ให้ประคบเย็นบริเวณส้นเท้าหรือใต้ฝ่าเท้า 15 – 20 นาที ภายใน 1 – 2 วันแรก               – หลังจากไม่มีการอักเสบ ให้แช่น้ำอุ่น 20 – 30 นาที จะช่วยให้สบายขึ้นและอาการปวดน้อยลง          – ออกกำลังกายหรือ ทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและอักเสบ

นอกจากการออกกำลังกายเอ็นร้อยหวายอย่างสม่ำเสมอแล้ว การเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ รองเท้าที่เหมาะสม ถ่ายเทน้ำหนักตัวจากส้นเท้าไปยังฝ่าเท้าส่วนหน้า ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดลดลงได้

ด้วยความห่วงใยจาก ซาลดรา อาร์ทัว คลินิก ฯ
เราอยากให้คุณมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
สอบถามเพิ่มเติม และทํา นัดรักษา
02-2874459
line : @saldraartuaclinic

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดคอ ( Neck Pain )

นั่งทำงานนาน ๆ อ่านหนังสือนาน ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ปวดเมื่อยคอจังเลย ทำอย่างไรดี หาคำตอบจากได้บทความนี้ค่ะ

อ่านต่อ »

ปวดไหล่ ( shoulder pain )

อาการปวดไหล่ ที่พบบ่อยเกิดจากหลายสาเหตุ อาจเกิดจาก – พยาธิสภาพที่ข้อไหล่เอง – พยาธิสภาพ

อ่านต่อ »